วัดพระสิงห์วรวิหาร
วัดพระสิงห์วรวิหาร อยู่ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปาง มารวิชัยขัดสมาธิเพชร
ตามประวัติของพระพุทธสิหิงส์นั้นเล่าไว้ว่า พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายเพื่อไปประดิษฐานไว้ยัง วัดสวนดอก แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง ก็ปรากฎว่าติดขัดไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ดังนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดลีเชียงนี้ ประชาชนนิยมเรียกพระพุทธสิงหิงค์สั้น ๆ ว่า พระสิงห์ จึงได้เรียกชื่อวัดพระสิงห์
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะ อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบ เมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วกัน ในวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง สุพรรณหงส์ และสังข์ทองซึ่งพบเพียงที่นี่แห่งเดียว ยังมีศิลปกรรมอื่นๆ ที่น่าชม ได้แก่ พระอุโบสถตกแต่งแบบศิลปะล้านนา หอไตรประดับด้วยรูปปูนปั้นเทวดา และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
ความ เชื่อและวิธีการบูชา พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) หากได้มานมัสการอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งแล้ว จะเป็นมงคลสูงสุดทำให้อายุมั่นขวัญยืน มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ทางลาด ทางวัดจัดทางลาดสำหรับเข้าห้องส้วมไว้ คนที่ใช้ Wheel Chair สามารถใช้งานได้
ป้ายสัญลักษณ์ ในวัดที่จัดไว้เป็นป้ายห้องส้วมสาธารณะ
ห้องส้วม สร้างไว้ 2 ห้องแยกชายหญิง รวมถึงมีห้องผู้สูงอายุ และห้องเด็กอีกด้วย
ตามประวัติของพระพุทธสิหิงส์นั้นเล่าไว้ว่า พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายเพื่อไปประดิษฐานไว้ยัง วัดสวนดอก แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง ก็ปรากฎว่าติดขัดไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ดังนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดลีเชียงนี้ ประชาชนนิยมเรียกพระพุทธสิงหิงค์สั้น ๆ ว่า พระสิงห์ จึงได้เรียกชื่อวัดพระสิงห์
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะ อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบ เมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วกัน ในวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง สุพรรณหงส์ และสังข์ทองซึ่งพบเพียงที่นี่แห่งเดียว ยังมีศิลปกรรมอื่นๆ ที่น่าชม ได้แก่ พระอุโบสถตกแต่งแบบศิลปะล้านนา หอไตรประดับด้วยรูปปูนปั้นเทวดา และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
ความ เชื่อและวิธีการบูชา พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) หากได้มานมัสการอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งแล้ว จะเป็นมงคลสูงสุดทำให้อายุมั่นขวัญยืน มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ทางลาด ทางวัดจัดทางลาดสำหรับเข้าห้องส้วมไว้ คนที่ใช้ Wheel Chair สามารถใช้งานได้
ป้ายสัญลักษณ์ ในวัดที่จัดไว้เป็นป้ายห้องส้วมสาธารณะ
ห้องส้วม สร้างไว้ 2 ห้องแยกชายหญิง รวมถึงมีห้องผู้สูงอายุ และห้องเด็กอีกด้วย
วัดสวนดอก
วัดสวนดอก หรือวัดบุปผาราม ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ในเขตอำเภอเมือง พญากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ล้านนาไทยสมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่ และวิหารโถง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย
วัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เดินทางไปได้ตามเส้นทางเลียบคลองชลประทาน จะมีป้ายบอกข้ามคลองไปทางตำบลแม่เหียะ จะพบทางขึ้นเขาไปยังพระธาตุดอยคำ ตามประวัติ เมื่อ พ.ศ. 2509 วัดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการะบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะลงจอดที่สนามบิน
วัดพวกหงษ์
วัดพวกหงษ์ ตั้งอยู่ถนนสามล้าน (ในซอยตรงข้ามกับซอยสามล้าน 7) ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง สิ่งที่น่าสนใจ คือ วัดนี้มีเจดีย์โบราณซึ่งพบว่ามีเพียงสามวัดในเชียงใหม่ คือ วัดพวกหงษ์ วัดร่ำเปิง และวัดเจดีย์ปล่อง มีลักษณะเป็นทรงกลม ก่ออิฐถือปูนฐานเป็นสี่เหลี่ยมหนึ่งชั้น เหนือขึ้นไปเป็นฐานทรงกลมสามชั้น และมีองค์เจดีย์เป็นทรงกลมซ้อนกัน 7 ชั้นจากใหญ่ไปหาเล็ก โดยรอบเป็นซุ้มพระพุทธรูปรวม 52 ซุ้ม ตามประวัติเจดีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2030 สมัยพระเจ้ายอดเชียงราย และได้รับการบูรณะสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พ.ศ. 2364 นอกจากนี้ที่วัดยังเก็บรักษาคัมภีร์ธรรมเก่าแก่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผี และ มูลศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น