วัดบุพพาราม
วัดบุพพาราม ตั้งอยู่บนถนนท่าแพเยื้องกับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ พระเมืองแก้วโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2039 ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2362 เจ้าหลวงธรรมลังกาโปรดให้สร้างวิหารหลังเล็กซึ่งเป็นเครื่องไม้ศิลปะล้านนา หน้าบันเป็นปูนปั้นประดับกระจกแกะลายสลักไม้อย่างงดงาม ส่วนวิหารหลังใหญ่หน้าบันมีลวดลายไม้แกะสลักแบบพม่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อด้วยทองแดงล้วนหนัก 1 โกฏิ อายุ 400 ปีเศษ และพระพุทธรูปเชียงแสนหล่อด้วยสำริดอยู่ทางด้านซ้ายและขวาอีกหนึ่งคู่ ภาย ในหอมณเฑียรธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปไม้สักขนาดหน้าตักกว้าง 1 วาเศษ มีอายุประมาณ 400 ปี ตามประวัติเล่าว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพจากเมืองอยุธยาเพื่อขึ้นมาปราบอริราชศัตรูที่มารุกรานเมือง เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2147 จนทัพศัตรูได้ล่าถอยไปทางเมืองแหงและเมืองต๋วน สมเด็จพระนเรศวรฯจึงพักรบและสร้าง “พระพุทธนเรศศักดิ์ชัยไพรีพินาศ” องค์นี้ขึ้น
วัดปราสาท ตั้งอยู่บนถนนอินทวโรรส ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองใกล้กับวัดพระสิงห์ เป็นวัดที่มีความเป็นมาทางประวัติสาสตร์อย่าง ยาวนาน และเป็นวัดที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม โดยหลวงพ่อพระประธานแห่งวัดปราสาทนั้นเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสี ขาว ที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบน่าเลื่อมใสศรัทธา นับเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่กับวัดแห่งนี้มานานหลายสมัย ประดิษฐานอยู่ในซุ้มปราสาทแบบล้านนาโบราณ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนท้ายพระวิหาร มีประตูซุ้มโขงเชื่อมเข้าสู่องค์ปราสาทลักษณะคล้ายกับเจดีย์หรือที่เรียกว่า กู่พระเจ้า อยูติดกับหลังพระวิหารอันหาชมได้ยากยิ่ง เชื่อกันว่าองค์พระประธานนี้มีความเก่าแก่ เพราะสร้างขึ้นมาในคราวเดียวกับการสร้างพระวิหาร หากใครได้เข้ามาสักการะ ขอพรจากองค์พระประธานในซุ้มปราสาทแห่งนี้ จะรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์และความเงียบสงบราวกับมีมนต์ขลัง
ตามหลักฐานที่ปรากฎในหลักศิลาจารึกของวัดตะโปธารามได้จารึกไว้ว่า วัดปราสาทมีมาตั้งแต่ครั้งที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองเมื่อปี พ.ศ. 2035 ในสมัยที่พระยายอดเชียงรายนั้นครองเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตที่ประทับของเจ้านายและฝ่ายขุนนาง ทำให้ได้รับการทำนุบำรุงสืบต่อกันมา แม้กระทั่งในสมัยที่เชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านั้น พระยาหลวงแสนคำก็ยังได้หล่อพระเจ้าหมื่นทอง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยถวายไว้ที่วัดปราสาทในปี พ.ศ 2133 และได้จารึกข้อความไว้ที่ฐานพระองค์นี้ด้วย
วัดปราสาทมีความโดดเด่นและทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม พระวิหารซึ่งมีลักษณะแบบล้านนาดั้งเดิมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี มีโครงสร้างแบบม้าต่างไหม คือลักษณะหลังคาและไม้ขื่นคานมี่ลดหลั่นกันขึ้นไปเหมือนต่างบนหลังม้าสำหรับ บรรทุกสิ่งของ มีบันไดนาคนำขึ้นสู่ตัวอาคารด้านหน้าวิหารมีลวดลายปูนปั้นประดับกระจกสี อย่างวิจิตร ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังลายคำบนพื้นรักสีแดงอย่างล้านนา ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ และซุ้มปราสาทที่ประดิษฐานพระประธานซึ่งหลงเหลืออยู่ไม่กี่แห่งในปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นวัดที่สำคัญทางพุทธศาสนา ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของคนรุ่นหลังสืบไป
ตามหลักฐานที่ปรากฎในหลักศิลาจารึกของวัดตะโปธารามได้จารึกไว้ว่า วัดปราสาทมีมาตั้งแต่ครั้งที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองเมื่อปี พ.ศ. 2035 ในสมัยที่พระยายอดเชียงรายนั้นครองเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตที่ประทับของเจ้านายและฝ่ายขุนนาง ทำให้ได้รับการทำนุบำรุงสืบต่อกันมา แม้กระทั่งในสมัยที่เชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านั้น พระยาหลวงแสนคำก็ยังได้หล่อพระเจ้าหมื่นทอง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยถวายไว้ที่วัดปราสาทในปี พ.ศ 2133 และได้จารึกข้อความไว้ที่ฐานพระองค์นี้ด้วย
วัดปราสาทมีความโดดเด่นและทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม พระวิหารซึ่งมีลักษณะแบบล้านนาดั้งเดิมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี มีโครงสร้างแบบม้าต่างไหม คือลักษณะหลังคาและไม้ขื่นคานมี่ลดหลั่นกันขึ้นไปเหมือนต่างบนหลังม้าสำหรับ บรรทุกสิ่งของ มีบันไดนาคนำขึ้นสู่ตัวอาคารด้านหน้าวิหารมีลวดลายปูนปั้นประดับกระจกสี อย่างวิจิตร ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังลายคำบนพื้นรักสีแดงอย่างล้านนา ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ และซุ้มปราสาทที่ประดิษฐานพระประธานซึ่งหลงเหลืออยู่ไม่กี่แห่งในปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นวัดที่สำคัญทางพุทธศาสนา ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของคนรุ่นหลังสืบไป
วัดศรีสุพรรณ
วัดศรีสุพรรณ ตั้งอยู่ที่ถนนวัวลาย ตำบลหายยา อำเภอเมือง สร้างขี้นเมือพุทธศักราช 2043 รัฐสมัยของพระเจ้าเมืองแก้ว กษัตริย์ในราชวงค์มังราย และทำการผูก พันธสีมาพระอุโบสถ พุทธศักราช 2052 ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมของคณะสงฆ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปาฏิหารย์ (พระเจ้า 500 ปี) ของวัดศรีสุพรรณมาโดยตลอด และอุโบสถหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม และจะได้มีการสร้างอุโบสถใหม่เป็นอุโบสถเงิน
ในการสร้างอุโบสถเงินครั้งนี้ ได้ดำเนินการในเขตพันธสีมาและฐานเดิม แต่จะเพิ่มเติมในส่วนของรูปทรงให้เป็นแบบ สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ โครงสร้างก่ออิฐถือปูน และประดับตกแต่งลวดลายทุกส่วนด้วยอลูมิเนียมและเงิน สลักลวดลายภาพ สามมิติ เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศิลป์ปริศนาธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ของวัดและชุมชน ตลอดถึงวิธีการ ขั้น ตอนลวดลาย ประจำตระกูลช่างเครื่องเงินของบ้านศรีสุพรรณ โดยช่าง (สล่า ) เครื่องเงินของบ้านศรีสุพรรณ ซึ่งนอกจากจะเป็นการ สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการทำเครื่องเงินไว้เป็นมรดกสืบทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังให้ ยั่งยืนต่อไป ดังนั้นทางวัดจึงได้จะทำโครงการสร้างอุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณนี้ขึ้นโดยมี ปณิธานว่าจะร่วมสร้างสรรค์ ส่งเสริม สนับสนุน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างศิลป์เป็นอนุสรณ์แก่แผ่นดินถิ่นล้านนา และถวายไว้ในบวรพระพุทธศานาสืบต่อไป เข้าไปดูรายละเอียดที่ www.watsrisuphan.org วัดนี้ผมก็ไปมาแล้วครับมีเอกลักษณ์ที่อุโบสถเงิน ใช้เงินทำทั้งหลังสวยงามมาก ถ้าคืนวันอาทิตย์ที่มีถนนคนเดิน วัดนี้จะเป็นที่นิยมสำหรับนักถ่ายภาพอีกด้วยน่ะครับ
ในการสร้างอุโบสถเงินครั้งนี้ ได้ดำเนินการในเขตพันธสีมาและฐานเดิม แต่จะเพิ่มเติมในส่วนของรูปทรงให้เป็นแบบ สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ โครงสร้างก่ออิฐถือปูน และประดับตกแต่งลวดลายทุกส่วนด้วยอลูมิเนียมและเงิน สลักลวดลายภาพ สามมิติ เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศิลป์ปริศนาธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ของวัดและชุมชน ตลอดถึงวิธีการ ขั้น ตอนลวดลาย ประจำตระกูลช่างเครื่องเงินของบ้านศรีสุพรรณ โดยช่าง (สล่า ) เครื่องเงินของบ้านศรีสุพรรณ ซึ่งนอกจากจะเป็นการ สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการทำเครื่องเงินไว้เป็นมรดกสืบทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังให้ ยั่งยืนต่อไป ดังนั้นทางวัดจึงได้จะทำโครงการสร้างอุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณนี้ขึ้นโดยมี ปณิธานว่าจะร่วมสร้างสรรค์ ส่งเสริม สนับสนุน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างศิลป์เป็นอนุสรณ์แก่แผ่นดินถิ่นล้านนา และถวายไว้ในบวรพระพุทธศานาสืบต่อไป เข้าไปดูรายละเอียดที่ www.watsrisuphan.org วัดนี้ผมก็ไปมาแล้วครับมีเอกลักษณ์ที่อุโบสถเงิน ใช้เงินทำทั้งหลังสวยงามมาก ถ้าคืนวันอาทิตย์ที่มีถนนคนเดิน วัดนี้จะเป็นที่นิยมสำหรับนักถ่ายภาพอีกด้วยน่ะครับ
วัดหมื่นสาร
ประวัติวัดหมื่นสาร มีปรากฏตั้งแต่สมัยพระเจ้าลกติโลกราช กษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย องค์ที่ 12 ครองนครเชียงใหม่ เมื่อจุลศักราช 804-840 (พ.ศ. 1985- 2021) ในตำนานพระสิลาว่า ในสมัยนั้น พระมหาญาณโพธิอยู่สำราญในวัดป่าแดงที่นั้น พระลกติโลกราช ทรงสั่งให้ หมื่นคำภา เวียงดิน นำเอาพระสิลาเจ้าไปถวายแด่พระมหาญาณะโพธิในวัดป่าแดงที่นั้นแล ส่วนพระมหาญาณะโพธิเถระเจ้า ก็ให้ทำสักการะบูชาและสรงพระสิลาเจ้าด้วยสุคนธวารี มีประการต่าง ๆ ในขณะยามนั้น ห่าฝนอันใหญ่ก็หลั่งไหลลงมาเป็นอันมากก็มีแล ในกาลเมื่อนั้นอำมาตย์ใหญ่ผู้หนึ่งมีนามว่า หมื่นหนังสือวิมลกิตติ เป็นสังฆการีนั้น ก็ให้สร้างวิหารในวัดหมื่นสารแล้วก็ไปอาราธนาเอาพระสิลาเจ้าจากวัดป่าแดงมา ประดิษฐานไว้ในวัดหมื่นสาร เพื่อให้จำเริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาต่อไปภายหน้า มหาสวามีเจ้าตนเป็นสังฆนายกอยู่ในวัดหมื่นสารมีนามว่า พุทธญาณเถร ก็ไปยังวัดสวนดอกไม้แล้วก็อาราธนาพระสิลาเจ้าไปเพื่อกระทำสักการะบูชาแล้ว นิมนต์กลับมาวัดหมื่นสารดังเดิมนั้นแล ซึ่งแสดงว่าวัดหมื่นสารมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าลกติโลกราชแล้วและคงเป็นวัด สำคัญเพราะเจ้าอาวาสเป็นถึงชั้น มหาสวามีสังฆนายก นอกจากนี้ยังปรากฏในพงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติหน้า 401 บรรทัดที่ 10 กล่าวว่า ลุศักราช 884 (พ.ศ. 2065) พระเจ้าอาทิตยวงศ์ เสวยราชสมบัติ ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา แต่งราชทูตมาสืบทางราชไมตรีพระเจ้าเชียงใหม่จัดการรับรองราชทูตพอสมควร แปลพระราชสาส์นยังวัดหมื่นสารดังนี้ ซึ่งในสมัยนั้นตรงกับสมัยพระเมืองแก้ว ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์เม็งราย และในตำนานวัดต่าง ๆ (ธรรมก้อมหรือธรรมประวัติเรื่องสั้น) จารไว้ในใบลานด้วยอักษรพื้นเมืองซึ่งพระมหาหมื่นญาณวุฑฒิ วัดเจดีย์หลวง ได้กล่าวถึง การตั้งชื่อวัด คำว่า หมื่นสาร ไว้ว่า ศักราช 888 (พ.ศ. 2069) สมัยแผ่นดินพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์นครพิงค์ องค์ที่ 15 แห่งราชวงศ์เม็งรายธานี แห่งแคว้นลานนาไทย สมัยนั้นมีเสนาอามาตย์ ผู้หนึ่ง ชื่อวิมลกิตติ (นายทหารยศชั้นหมื่น) ได้ฐาปนาพระอารามนี้ขึ้น โดยมีบาลีกล่าวไว้ซึ่งแปลได้ว่า อาวาสนี้ อันหมื่นวิมลกิตติ ผู้เป็นมหาโยธา (ทหารผู้ใหญ่) ในนครนี้ตั้งไว้แล้ว
สำหรับหมื่นวิมลกิตตินี้มีชื่อปรากฏอยู่หลายแห่งหลายสมัยหลายกษัตริย์ด้วย กัน เมื่อสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระศิลานั้นอยู่ในสมัยพระเจ้าลกติโลกราช และปรากฏในศิลาจารึกวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เมื่อสร้างวัดร่ำเปิง เป็นสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย และเมื่อฐาปนาอารามวัดหมื่นสารครั้งหลังนี้อยู่ในสมัยพระเมืองเกษเกล้าดัง กล่าว ชื่อเต็มของท่านมีชื่อว่า หมื่นหนังสือวิมลกิตติสิงหละราชมนตรี เป็นสังฆการีและเกี่ยวกับการรับรองราชทูตและแปลพระราชสาส์น ท่านได้อุปถัมภ์วัดหมื่นสารมาตลอด วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดหมื่นสาร
วัดหมื่นสาร เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีเจ้าอาวาสที่ทรงภูมิธรรมดังปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์ที่กล่าวแล้วในตอน ต้น ดังนั้น ในวัดแห่งนี้จึงมีคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจโดยสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อราวทศวรรษ 2520 พบคัมภีร์ใบลานของวัดหมื่นสารจำนวน 163 รายการ 815 ผูก อย่างไรก็ดีจากศักราชที่ระบุในใบลานเช่น จศ.1187 ก็พบว่าเป็นเอกสารที่มีอายุประมาณ 200 กว่าปี
เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระครูสุทธิจิตตาภิรัต(อเนก สุทอง)
สำหรับหมื่นวิมลกิตตินี้มีชื่อปรากฏอยู่หลายแห่งหลายสมัยหลายกษัตริย์ด้วย กัน เมื่อสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระศิลานั้นอยู่ในสมัยพระเจ้าลกติโลกราช และปรากฏในศิลาจารึกวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เมื่อสร้างวัดร่ำเปิง เป็นสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย และเมื่อฐาปนาอารามวัดหมื่นสารครั้งหลังนี้อยู่ในสมัยพระเมืองเกษเกล้าดัง กล่าว ชื่อเต็มของท่านมีชื่อว่า หมื่นหนังสือวิมลกิตติสิงหละราชมนตรี เป็นสังฆการีและเกี่ยวกับการรับรองราชทูตและแปลพระราชสาส์น ท่านได้อุปถัมภ์วัดหมื่นสารมาตลอด วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดหมื่นสาร
วัดหมื่นสาร เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีเจ้าอาวาสที่ทรงภูมิธรรมดังปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์ที่กล่าวแล้วในตอน ต้น ดังนั้น ในวัดแห่งนี้จึงมีคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจโดยสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อราวทศวรรษ 2520 พบคัมภีร์ใบลานของวัดหมื่นสารจำนวน 163 รายการ 815 ผูก อย่างไรก็ดีจากศักราชที่ระบุในใบลานเช่น จศ.1187 ก็พบว่าเป็นเอกสารที่มีอายุประมาณ 200 กว่าปี
เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระครูสุทธิจิตตาภิรัต(อเนก สุทอง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น